หัวข้อ ประเมิน 3 เดือนรัฐบาล และ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ
                  ด้วยวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 3 เดือนในการทำงานของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อีกทั้งในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ได้มีการเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ
และรัฐมนตรีช่วยฯ จำนวน 5 คน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง
ประเมิน 3 เดือนรัฐบาล และ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ”   โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
จากทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 1,137 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.1 และเพศหญิงร้อยละ 50.9
เมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานครบ 3 เดือนของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
                 
ได้คะแนนเฉลี่ย 5.17 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งลดลง 0.25 คะแนน
                 เมื่อเทียบกับผลสำรวจตอนรัฐบาลทำงานครบ 1 เดือน (ได้คะแนน 5.42)

                 โดยมีคะแนนความพึงพอใจการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้

 
คะแนน
(จากคะแนนเต็ม 10)
ด้านการต่างประเทศ
5.32
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
5.26
ด้านความมั่นคงของประเทศ
5.12
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย
5.09
ด้านเศรษฐกิจ
5.06
 
             2. กระทรวงที่มีผลงาน น่าพอใจมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

 
ร้อยละ
กระทรวงศึกษาธิการ
21.4
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
12.9
กระทรวงแรงงาน
10.2
กระทรวงการต่างประเทศ
10.0
กระทรวงการคลัง
7.1
 
             3. กระทรวงที่มีผลงาน น่าพอใจน้อยที่สุด 5 อันดับแรก คือ

 
ร้อยละ
กระทรวงอุตสาหกรรม
0.3
กระทรวงพลังงาน
1.5
กระทรวงวัฒนธรรม
1.5
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2.0
กระทรวงมหาดไทย
2.5
 
             4. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานครบ 3 เดือนของฝ่ายค้านในภาพรวม ได้คะแนนเฉลี่ย
                 4.62 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
 
             5. เมื่อถามถึงประเด็นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ประชาชนยังค้างคาใจ และต้องการให้รัฐบาล
                 ออกมาชี้แจงเพิ่มเติม พบว่า


 
ร้อยละ
ไม่มีประเด็นค้างคาใจ
74.8
มีประเด็นค้างคาใจและต้องการให้รัฐบาลออกมาชี้แจงเพิ่มเติม
     ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- เรื่องพฤติกรรมในอดีตของรมว. กระทรวง
  การต่างประเทศ
ร้อยละ 9.3
- เรื่องเงินสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้จาก
  บริษัท ทีพีไอ โพลีน จก.
ร้อยละ 6.9
- เรื่องการที่นายกรัฐมนตรีใช้เอกสาร สด.9 ปลอม ร้อยละ 3.1
- เรื่องเงินกู้จากต่างประเทศ ร้อยละ 2.7
- เรื่องการดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ
  ที่บุกยึดทำเนียบรัฐบาล และสนามบิน
ร้อยละ 2.6
- เรื่องอื่นๆ ร้อยละ 0.6
25.2
 
             6. หลังจากรัฐบาลชุดปัจจุบันบริหารประเทศมาครบ 3 เดือน และเสร็จสิ้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจฯ
                 พบว่า สิ่งที่ประชาชนต้องการมากที่สุด คือ

 
ร้อยละ
ให้รัฐบาลชุดปัจจุบันบริหารประเทศต่อไป
64.8
ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่
17.3
ให้ปรับคณะรัฐมนตรี
10.4
ให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
6.3
อื่นๆ เช่น ให้นายกรัฐมนตรีลาออก
1.2
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:

                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่อไปนี้
                     1. ความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในด้านต่างๆ
                     2. กระทรวงที่มีผลงานน่าพึงพอใจมากที่สุด และน่าพึงพอใจน้อยที่สุด ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
                     3. ความพึงพอใจการทำงานของฝ่ายค้าน ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
                     4. ประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลออกมาชี้แจงเพิ่มเติม หลังจบการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

                     5. สิ่งที่ต้องการเห็นภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจและการบริหารประเทศมาครบ 3 เดือนของรัฐบาล

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง
และชั้นใน จำนวน 31 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน จอมทอง ดินแดง ดุสิต ธนบุรี บางกะปิ บางแค บางนา บางเขน
บางซื่อ บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ลาดกระบัง วังทองหลาง วัฒนา
สวนหลวง สัมพันธวงศ์ สายไหม พญาไท สะพานสูง หนองแขม หนองจอก และหลักสี่ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากร
เป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,137 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.1 และเพศหญิงร้อยละ
50.9
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 21 - 23 มีนาคม 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 24 มีนาคม 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
558
49.1
             หญิง
579
50.9
รวม
1,137
100.0
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
361
31.7
             26 - 35 ปี
302
26.6
             36 - 45 ปี
252
22.2
             46 ปีขึ้นไป
222
19.5
รวม
1,137
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
118
10.4
             พนักงานบริษัทเอกชน
320
28.1
             ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว
263
23.1
             รับจ้างทั่วไป
130
11.4
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
84
7.4
             อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
222
19.6
รวม
1,137
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
602
52.9
             ปริญญาตรี
458
40.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
77
6.8
รวม
1,137
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776